วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 17 ต.ค. 58

วันที่ 17 ตุลาคม 2558
สรุปที่ท่านอาจารย์ภัทรดร จั้นวันดี ได้สอนดังนี้


การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อปรับตนเองนปัจจุบัน
  1. มนุษย์มีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกันผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนหลากหลาย
  2. ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่นำความรู้ไปใส่สมองผู้เรียนแล้วให้ผู้เรียนดำเนินการตามผู้สอน
  3. โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัย มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
  4. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 10 ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
  5. ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า "ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด" และ "ระบบที่ยืดหยุ่นก็จะผลิตคนที่ยืดหยุ่น"
  6. สังคมหรือชุมชนที่มั่งคั่ง ร่ำรวยด้วยข้อมูลข่าวสารทำให้การเรียนรู้สามารถไปได้ด้วยดี
  7. การเรียนรู้เจาะลึก (deep learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรู้แบบผิวเผิน
  8. การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ ต้องการครูที่มีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอน
  9. การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน(schooling) กับการศึกษา(education) อาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
  10. โลกอนาคตจะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน(Homebased-education) มากขึ้น





21st Century Skills

              ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ   ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
              สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้  สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 
    ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
    ศิลปะ
    คณิตศาสตร์
    การปกครองและหน้าที่พลเมือง
    เศรษฐศาสตร์
    วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์
    ประวัติศาสตร์
       โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
          ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
          ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
          ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
          ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
          ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
        ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        การสื่อสารและการร่วมมือทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        ความรู้ด้านสารสนเทศ
        ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        ความรู้ด้านเทคโนโลยีทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
    ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
    การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
    ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
    การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)

    ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)


               การจัดการศึกษาในศตรรษที่ 21 ทักษะแห่งอนาคตใหม่ที่ครูควรมีทักษะและคุณลักษณะที่รองรับเข้าถึงเพื่อสร้างนวัตกรรมบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ ในอันที่จะพัฒนาผู้เรียนในยุคใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ การศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมายในสู่ “ยุคความรู้” จุดท้าทายในการจัดการศึกษาควรไปในทิศทางของความสุขในการทำงานอย่างมีเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีของผู้เรียนในยุคความรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” ด้วยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียน ครูต้องตอบได้ว่า ผู้เรียนได้เรียนอะไร และเพื่อให้ผู้เรียนได้อะไรการประสบผลสำเร็จได้นั้น ครูต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร การทำหน้าที่ครูจึงไม่ผิดทางคือ ทำให้ผู้เรียน เรียนไม่สนุกหรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills) จะเกิดขึ้นได้จาก “ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก” ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำแล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชาควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของผู้เรียนโดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้



 กระบวนการการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้น (C&M)
  1. ตั้งคำถาม/สมมุติฐาน   (Hypothesis Formulation) 
  2. สืบค้นความรู้ (Searching for Information)
  3. การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formation) 
  4. สื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication)
  5. บริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service)

5W1H ในหลักของวิชา IS คือ
What=สร้างขึ้นจากอะไร
Where=เอาข้อมูลมาจากแหล่งไหน (www)
When=up date เมื่อไหร่
Why=สร้างขึ้นมาทำไม
Who=ใครเป็นผู้สร้าง
How=เชื่อถือได้หรือไม่

^^ขอจบการสรุปเพียงเท่านี้ค่ะ^^

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 9 ต.ค. 58

วันที่ 9 ตุลาคม 2558
ต่อจากอาทิตย์ที่แล้วหลังจากที่สรุปเสร็จได้รายงานตามหัวข้อต่อไปนี้ค่ะ

นิยามคำว่า สื่อ




          สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น 
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น 
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น 
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง 
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย 
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
  1. สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 
  2. ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้ 
  3. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 
  4. สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน 
  5. ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 
  6. ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ 
  7. เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ 
  8. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม 

นิยามคำว่า Learning Resort


         แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิชาการ และประสบการณ์ที่สนับสนุน ส่งเสริม    
ให้ผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้แสวงหาความรู้และเรัียนรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องจากแหล่งต่างๆ เพื่อเสริมสร้าง  
ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

วัตถุประสงค์ของแหล่งการเรียนรู้
  1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ วิทยาการ และเสริมสร้างประสบการณ์ที่กว้างขวางอย่างหลากหลาย
  2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  3. เพื่อจัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศและแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
  4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรุ้ เป็นผู้ัใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเรียนรู้ด้วยตยเองอย่างต่อเนื่อง

นิยามคำว่า การวัดและการประเมินผล


ความหมาย
          ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ  การวัด  และ  การวัดผล  บางคนเข้าใจว่า 2 คำนี้เป็นคำเดียวกัน  มีความหมายเหมือนกัน เพราะมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ measurement  แต่ในภาษาไทย  2 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย  ดังนี้
การวัด เป็นกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนปริมาณหรือคุณภาพของคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด  
การวัดผล  เป็นกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนปริมาณหรือคุณภาพของคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด  โดยสิ่งที่ต้องการวัดนั้นเป็นผลมาจากการกระทำหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง


นิยามคำว่า ระบบ


          ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น
ระบบการเรียนการสอน 
ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้ 

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 
ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือ
กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน 
ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 
โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ
  1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
  2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
  3. ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
  4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ  ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
  5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบเพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร  เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
  6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต
นิยามคำว่า การบูรณาการ


รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (models of integration)มี 4 รูปแบบ คือ


1. การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก (infusion instruction)
การสอนรูปแบบนี้ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่น ๆ เข้าไปในการสอนของตน เป็นการวางแผนการสอนและสอนโดยครูเพียงคนเดียว

2. การสอนบูรณาการแบบขนาน (parallel instruction)
การสอนตามรูปแบบนี้ ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน ต่างคนต่างสอนแต่ต้องวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน (theme/concept/problem) ระบุสิ่งที่ร่วมกันและตัดสินในร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้น ๆ อย่างไรในวิชาของแต่ละคน งานหรือการบ้านที่มอบหมายให้นักเรียนทำจะแตกต่างกันไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน

3. การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ (multidisciplinary instruction)
  การสอนตามรูปแบบนี้คล้าย ๆ กับการสอนบูรณาการแบบขนาน (parallel instruction) กล่าวคือครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน มุ่งสอนหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกันต่างคนต่างแยกกันสอนเป็นส่วนใหญ่ แต่มีการมอบหมายงาน หรือโครงการ (project) ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ครูทุกคนจะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อที่จะระบุว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้น ๆ ในแต่ละวิชาอย่างไร และวางแผนสร้างโครงการร่วมกัน (หรือกำหนดงานจะมอบหมายให้นักเรียนทำร่วมกัน) และกำหนดว่าจะแบ่งโครงการนั้นออกเป็นโครงการย่อย ๆ ให้นักเรียนปฏิบัติแต่ละรายวิชาอย่างไร
อนึ่ง พึงเข้าใจว่าคำว่า “โครงการ” นี้มีความหมายเดียวกันกับคำว่า “โครงงาน” มาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ “Project” หลายท่านอาจคุ้นกับคำว่า โครงงาน มากกว่า เช่น “โครงงานวิทยาศาสตร์” ซึ่งก็อาจเรียกว่า “โครงการวิทยาศาสตร์” ได้เช่นเดียวกัน

4. การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ (transdisciplinary instrction)
การสอนตามรูปแบบนี้ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ จะร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม ร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือ และกำหนดหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

ขอจบการสรุปเพียงเท่านี้ค่ะ^^

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 3 ต.ค. 58

วันที่ 3 ตุลาคม 2558




วันนี้ท่านอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มหานิยามของคำดังต่อไปนี้

  1. นิยามคำว่า สื่อ
  2. นิยามคำว่า Learning Resort
  3. นิยามคำว่า การวัดและการประเมินผล
  4. นิยามคำว่า ระบบ
  5. นิยามคำว่า การบูรณาการ
ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้หัวข้อที่ 5 ค่ะ^^





ท่านอาจารย์จะให้นำเสนอในชั่วโมงต่อไปค่ะ^^
ขอจบการสรุปเพียงเท่านี้ค่ะ^^

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 26 ก.ย. 58

วันที่ 26 กันยายน 2558
     วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆรายงาน Model ต่อดังนี้

ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบ UNESCO Model

     UNESCO Model คือ การพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ จะเริ่มจากการศึกษาความต้องการ การวิเคราะห์ประชากรเป้าหมาย การวิเคราะห์งานอาชีพ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากำหนดปรัชญาและจุดมุ่งหมาย จากนั้นจึงเป็นการกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร กำหนดวิธีการในการประเมินผล และประเมินผลการกำหนดวัตถุประสงค์เทียบกับความต้องการว่าสอดคล้องกันหรือไม่ หากประเมินแล้ววัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการก็จะออกแบบสร้างวัสดุ การเรียนการสอน นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ แล้วจึงนำไปใช้จริงพร้อมกับมีการประเมินผลลัพธ์จากกระบวนการว่าสอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษาไว้หรือไม่ อย่างไร


UNESCO Model (Micro Level)
       การพัฒนาหลักสูตรในระดับ Micro Level ส่วนใหญ่จะพูดถึงในระดับรายวิชา เริ่มจากการวิเคราะห์
ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อง เพื่อน าข้อมูลมาออกแบบบทเรียนและผลิต วัสดุการเรียนการสอน ก่อนที่จะ
นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขกับกลุ่ม ทดลอง หลังปรับปรุงแล้ว จึงนำใช้จริง กับประชากร และ

ประเมินผลเป็นวงจรต่อไปเรื่อย ๆ



ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Hannafin and Peck Model

แฮนนาฟิน แอนด์ เพ็ค (Hannafin and Peck) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้น โดยเรียกว่า Hannafin and Peck Design Modelสำหรับออกแบบบทเรียนทั่ว ๆ ไป  ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ
่ 
  1. การประเมินความต้องการ (Needs Assessment)   ได้แก่ การประเมินความต้องการใช้บทเรียนเพื่อการเรียนการสอนหรือเพื่อฝึกอบรม เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความจำเป็นของการใช้บทเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น    ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำงานด้านเอกสารเป็นส่วนใหญ่  ผลที่ได้จะนำไปใช้ในการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการในขั้นต่อไป
  2. การออกแบบ (Design) ได้แก่ การออกแบบบทเรียนตามผลการวิเคราะห์ความจำเป็นที่ได้จากขั้นตอนแรก โดยนำผลลัพธ์ที่ได้มาออกแบบบทเรียนตามกระบวนการเรียนรู้  ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้จึงเป็นตัวบทเรียนที่พร้อมจะนำไปพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไป
  3. การพัฒนาและการทดลองใช้ (Develop/Implement) ได้แก่  การพัฒนาเป็นบทเรียน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม ตามแนวทางการออกแบบที่ได้จากขั้นตอนที่สอง หลังจากนั้นจึงนำบทเรียนไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
  4. การประเมินและสรุปผล (Evaluation and Revision)   ได้แก่ การประเมินผลบทเรียนและสรุปผล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ไขบทเรียนในโอกาสต่อไป

สรุป
    การออกแบบการสอนเป็นเรื่องหลักในการสอนของทุกระดับชั้น  กระบวนการที่หยิบมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความแตกต่างกัน เทคนิควิธีการสอนจะอยู่ในส่วนที่ลงมือปฏิบัติค่ะ^^


STEM 

   คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ดังนี้
  • S  ย่อมาจาก   Science หรือ วิทยาศาสตร์ 
  • T  ย่อมาจาก   Technology  หรือ เทคโนโลยี 
  • E  ย่อมาจาก   Engineering  หรือ  วิศวกรรมศาสตร์
  • M ย่อมาจาก   Mathematics  หรือ  คณิตศาสตร์ 
    ซึ่งรวมแล้วหมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM  ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 

     สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

     การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน

ที่มา
https://www.gotoknow.org/posts/102197
http://webbased-liyana.blogspot.com/2010/01/week-3.html
http://www.stemedthailand.org/?page_id=23

ขอจบการสรุปเพียงเท่านี้ค่ะ^^