วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆรายงาน Model ต่อดังนี้
ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบ UNESCO Model
UNESCO Model คือ การพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ จะเริ่มจากการศึกษาความต้องการ การวิเคราะห์ประชากรเป้าหมาย การวิเคราะห์งานอาชีพ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากำหนดปรัชญาและจุดมุ่งหมาย จากนั้นจึงเป็นการกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร กำหนดวิธีการในการประเมินผล และประเมินผลการกำหนดวัตถุประสงค์เทียบกับความต้องการว่าสอดคล้องกันหรือไม่ หากประเมินแล้ววัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการก็จะออกแบบสร้างวัสดุ การเรียนการสอน นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ แล้วจึงนำไปใช้จริงพร้อมกับมีการประเมินผลลัพธ์จากกระบวนการว่าสอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษาไว้หรือไม่ อย่างไร
UNESCO Model (Micro Level)
การพัฒนาหลักสูตรในระดับ Micro Level ส่วนใหญ่จะพูดถึงในระดับรายวิชา เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อง เพื่อน าข้อมูลมาออกแบบบทเรียนและผลิต วัสดุการเรียนการสอน ก่อนที่จะ
นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขกับกลุ่ม ทดลอง หลังปรับปรุงแล้ว จึงนำใช้จริง กับประชากร และ
ประเมินผลเป็นวงจรต่อไปเรื่อย ๆ
ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Hannafin and Peck Model
แฮนนาฟิน แอนด์ เพ็ค (Hannafin and Peck) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้น โดยเรียกว่า Hannafin and Peck Design Modelสำหรับออกแบบบทเรียนทั่ว ๆ ไป ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ
่
- การประเมินความต้องการ (Needs Assessment) ได้แก่ การประเมินความต้องการใช้บทเรียนเพื่อการเรียนการสอนหรือเพื่อฝึกอบรม เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความจำเป็นของการใช้บทเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำงานด้านเอกสารเป็นส่วนใหญ่ ผลที่ได้จะนำไปใช้ในการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการในขั้นต่อไป
- การออกแบบ (Design) ได้แก่ การออกแบบบทเรียนตามผลการวิเคราะห์ความจำเป็นที่ได้จากขั้นตอนแรก โดยนำผลลัพธ์ที่ได้มาออกแบบบทเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้จึงเป็นตัวบทเรียนที่พร้อมจะนำไปพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไป
- การพัฒนาและการทดลองใช้ (Develop/Implement) ได้แก่ การพัฒนาเป็นบทเรียน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม ตามแนวทางการออกแบบที่ได้จากขั้นตอนที่สอง หลังจากนั้นจึงนำบทเรียนไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
- การประเมินและสรุปผล (Evaluation and Revision) ได้แก่ การประเมินผลบทเรียนและสรุปผล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ไขบทเรียนในโอกาสต่อไป
สรุป
การออกแบบการสอนเป็นเรื่องหลักในการสอนของทุกระดับชั้น กระบวนการที่หยิบมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความแตกต่างกัน เทคนิควิธีการสอนจะอยู่ในส่วนที่ลงมือปฏิบัติค่ะ^^
STEM
คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ดังนี้
- S ย่อมาจาก Science หรือ วิทยาศาสตร์
- T ย่อมาจาก Technology หรือ เทคโนโลยี
- E ย่อมาจาก Engineering หรือ วิศวกรรมศาสตร์
- M ย่อมาจาก Mathematics หรือ คณิตศาสตร์
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
ที่มา
https://www.gotoknow.org/posts/102197
http://webbased-liyana.blogspot.com/2010/01/week-3.html
http://www.stemedthailand.org/?page_id=23
ขอจบการสรุปเพียงเท่านี้ค่ะ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น