วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 19 ก.ย. 58

วันที่ 19 กันยายน 2558
     วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆรายงาน Model ต่อดังนี้


ระบบการจัดการเรียนการสอนของคลอสเมียร์ และริปเปิล (Klausmeier; & Ripple. 1971: 11) 

ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
  1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
  2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
  3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
  4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  5. การดำเนินการสอน
  6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
  7. สัมฤทธิผลของนักเรียน
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล แสดงดังภาพประกอบ 




ระบบการจัดการเรียนการสอนของซีลส และกลาสโกว 

(Seels; & Glasgow. 1990) มีขั้นตอนดังนี้

  1. การวิเคราะหปญหา (Problem Analysis) เปนการพิจารณาวาเกิดปญหาอะไรในการเรียนการสอนโดยผานการรวบรวมและเทคนิคการประเมินและระบุสิ่งที่เปนปญหา
  2. วิเคราะหการสอนและกิจกรรม (Task and Instructional Analysis) เปนการรวบรวมขอมูลและวิเคราะห์ข้อกำหนดดานเจตคติเพื่อกําหนดสิ่งที่ไดเรียนมากอน
  3. การกําหนดวัตถุประสงคและแบบทดสอบ (Objective and Tests) เปนการกําหนดวัตถุประสงคเชิงพฤติกรรมและแบบทดสอบอิงเกณฑ
  4. กลยุทธการเรียนการสอน (Instructional Strategy) เปนการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธและองค์ประ กอบดานการเรียนการสอน
  5. การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (Media Decision) เปนการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการใชเพื่อทําใหการเรียนการสอนบรรลุผล
  6. การพัฒนาการสอน (Materials Development) เปนการวางแผนสําหรับผลผลิต การพัฒนาวัสดุ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใชในการเรียนการสอน
  7. การประเมินผลยอยระหวางเรียน (Formative Evaluation) เปนการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวบรวมขอมูล และตรวจสอบพัฒนาการของผูเรียน
  8. การนําไปใชและบํารุงรักษา (Implementation Maintenance) เปนการนําไปใชเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  9. การประเมินผลรวมภายหลังการเรียน (Summative Evaluation) เปนการพิจารณาประเมินผลวาผานเกณฑที่กําหนดหรือไม
  10. การเผยแพรและขยายผล (Dissemination Diffusion) เปนขั้นของการจัดการใหมีการเผยแพร ขยายผลนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นองคประกอบของระบบการเรียนการสอนของซีลสและกลาสโกว 
องคประกอบของระบบการเรียนการสอนของซีลสและกลาสโกว  แสดงดังภาพประกอบ



ระบบการจัดการเรียนการสอนของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') 

ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการ

  1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
  2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
  3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
  4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
  5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
  6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
  7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
  8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
  9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)

 โดยในแต่ประการจะมีรายละเอียด ดังนี้
  1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ จึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากเร่งเร้าความสนใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะศึกษาเนื้อหาต่อไปในตัวอีก ด้วย
  2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว จะยังเป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ ผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและ สัมพันธ์กับเนื้อหา ในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากจะมีผลดังกล่าวแล้ว ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า ผู้เรียนที่ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนก่อนเรียนบทเรียน จะสามารถจำและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นอีกด้วย
  3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ของผู้เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเนื้อหาใหม่ นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐานแล้ว บทเรียนบางเรื่องอาจใช้ผลจากการทดสอบก่อนบทเรียนมาเป็นเกณฑ์จัดระดับความ สามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป หากเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบทเรียนที่เรียนต่อ เนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวนความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้ การกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความเหมาะสม ปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอเนื้อหาเรื่องการต่อตัวต้านทานแบบผสม ถ้าผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจวิธีการหาความต้านทานรวม กรณีนี้ควรจะมีวิธีการวัดความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ามีความเข้าใจเพียงพอที่จะคำนวณหาค่าต่างๆ ในแบบผสมหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบก่อน ถ้าพบว่าผู้เรียนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ บทเรียนต้องชี้แนะให้ผู้เรียนกลับไปศึกษาเรื่องการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนานก่อน หรืออาจนำเสนอบทเรียนย่อยเพิ่มเติมเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการทบทวนก่อนก็ได้
  4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) หลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว โดยหลักการที่ว่า ภาพจะช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ง่ายต่อการรับรู้ แม้ในเนื้อหาบางช่วงจะมีความยากในการที่จะคิดสร้างภาพประกอบ แต่ก็ควรพิจารณาวิธีการต่างๆ ที่จะนำเสนอด้วยภาพให้ได้ แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าคำอธิบายเพียงคำเดียว อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบเนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลามากไปในการปรากฏบนจอภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยาก และไม่เหมาะสมในเรื่องเทคนิคการออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น
  5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความ รู้เดิมของผู้เรียน บางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่กระจ่างชัด (Meaningfull Learning) นั้น ทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือการที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหา ใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม รวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขั้นนี้ก็คือ พยายามค้นหาเทคนิคในการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการ ศึกษาความรู้ใหม่ นอกจากนั้น ยังจะต้องพยายามหาวิถีทางที่จะทำให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียนนั้นมี ความกระจ่างชัดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้นว่า การใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย ได้แก่ เทคนิคการให้ตัวอย่าง (Example) และตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวอย่าง (Non-example) อาจจะช่วยทำให้ผู้เรียนแยกแยะความแตกต่างและเข้าใจมโนคติของเนื้อหาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guided Discovery) ซึ่งหมายถึง การพยายามให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยๆ ชี้แนะจากจุดกว้างๆ และแคบลงๆ จนผู้เรียนหาคำตอบได้เอง นอกจากนั้น การใช้คำอธิบายกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ก็เป็นเทคนิคอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการชี้แนวทางการเรียนรู้ได้ สรุปแล้วในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องยึดหลักการจัดการเรียนรู้ จากสิ่งที่มีประสบการณ์เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ จากสิ่งที่ยากไปสู่สิ่งที่ง่ายกว่า ตามลำดับขั้น
  6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) นักการศึกษากล่าวว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับและ ขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้ อื่นเพียงอย่างเดียว บทเรียนคอมพิวเตอร์ มีข้อได้เปรียบกว่าโสตทัศนูปการอื่นๆ เช่น วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เทปเสียง เป็นต้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้จัดเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ไม่ได้ (Non-interactive Media) แตกต่างจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เลือกกิจกรรม และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน กิจกรรมเหล่านี้เองที่ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อมีส่วนร่วม ก็มีส่วนคิดนำหรือติดตามบทเรียน ย่อมมีส่วนผูกประสานให้ความจำดีขึ้น
  7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ผลจากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิกอาจมีผลเสียอยู่บ้างตรงที่ผู้เรียนอาจต้องการดูผล ว่าหากทำผิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างเช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนแบบแขวนคอสำหรับการสอนคำศัพท์ภาษา อังกฤษ ผู้เรียนอาจตอบโดยการกดแป้นพิมพ์ไปเรื่อยๆโดยไม่สนใจเนื้อหา เนื่องจากต้องการดูผลจากการแขวนคอ วิธีหลีกเลี่ยงก็คือ เปลี่ยนจากการนำเสนอภาพ ในทางบวก เช่น ภาพเล่นเรือเข้าหาฝั่ง ภาพขับยานสู่ดวงจันทร์ ภาพหนูเดินไปกินเนยแข็ง เป็นต้น ซึ่งจะไปถึงจุดหมายได้ด้วยการตอบถูกเท่านั้น หากตอบผิดจะไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าเป็นบทเรียนที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายระดับสูงหรือเนื้อหาที่มีความยาก การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยคำเขียนหรือกราฟจะเหมาะสมกว่า
  8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่ การทดสอบหลังบทเรียนจึงมีความจำเป็นสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุก ประเภท นอกจากจะเป็นการประเมินผลการเรียนรู้แล้ว การทดสอบยังมีผลต่อความคงทนในการจดจำเนื้อหาของผู้เรียนด้วย แบบทดสอบจึงควรถามแบบเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน ถ้าบทเรียนมีหลายหัวเรื่องย่อย อาจแยกแบบทดสอบออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหา โดยมีแบบทดสอบรวมหลังบทเรียนอีกชุดหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบบทเรียนต้องการแบบใด
  9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหา เฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษา เนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป

องคประกอบของระบบการเรียนการสอนของโรเบิร์ต กาเย่  แสดงดังภาพประกอบ


รูปแบบ LT (Learning Together)

         รูปแบบ LT (Learning Together) นี้ Johnson & Johnson เป็นผู้เสนอในปี ค.ศ. 1975 ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 เขาเรียกรูปแบบนี้ว่า วัฏจักรการเรียนรู้ (Circles of Learning) รูปแบบนี้มีการกำหนดสถานการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนทำผลงานเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม และการให้รางวัลกลุ่ม ซึ่งจอห์นสันและจอห์นสันได้เสนอหลักการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ ไว้ว่า 
การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือตามรูปแบบ LT จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 
1.สร้างความรู้สึกพึ่งพากัน (Positive Interdependence) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนซึ่งอาจทำได้หลายวิธี คือ 
1.1 กำหนดเป้าหมายร่วมของกลุ่ม (Mutual Goals) ให้ทุกคนต้องเรียนรู้เหมือนกัน 
1.2 การให้รางวัลรวม เช่น ถ้าสมาชิกทุกคนของกลุ่มได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 90 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม (Joint Rewards) สมาชิกในกลุ่มนั้นจะได้คะแนนพิเศษอีกคนละ 5 คะแนน 
1.3 ให้ใช้เอกสารหรือแหล่งข้อมูล (Share Resources) ครูอาจแจกเอกสารที่ต้องใช้เพียง 1 ชุด สมาชิกแต่ละคนจะต้องช่วยกันอ่านโดยแบ่งเอกสารออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ 
1.4 กำหนดบทบาทของสมาชิกในการทำงานกลุ่ม (Assigned Roles) งานที่มอบหมายแต่ละงานอาจกำหนดบทบาทการทำงานของสมาชิกในกลุ่มแตกต่างกัน หากเป็นงานเกี่ยวกับการตอบคำถามในแบบฝึกหัดที่กำหนด ครูอาจกำหนดบทบาทของสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้อ่านคำถาม ผู้ตรวจสอบ ผู้กระตุ้นให้สมาชิกช่วยกันคิดหาคำตอบและผู้จดบันทึกคำตอบ 
2.จัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน (Face-To-Face Interaction) ให้นักเรียนทำงานด้วยกันภายใต้บรรยากาศของความช่วยเหลือและส่งเสริมกัน 
3.จัดให้มีความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual Accountability) เป็นการทำให้นักเรียนแต่ละคนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงาน ไม่กินแรงเพื่อน ครูอาจจัดสภาพการณ์ได้ด้วยการประเมินเป็นระยะ สุ่มสมาชิกของกลุ่มให้ตอบคำถามหรือรายงานผลการทำงาน สมาชิกทุกคนจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่ม 
4.ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะสังคม (Social Skills) การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี นักเรียนต้องมีทักษะทางสังคมที่จำเป็น ได้แก่ ความเป็นผู้นำ การตัดสินใจ การสร้างความไว้ใจ การสื่อสาร และทักษะการจัดการกับข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 
5.จัดให้มีกระบวนการกลุ่ม (Group Processing) เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และหาทางปรับปรุงการทำงานกลุ่มให้ดีขึ้น 
จากหลักการดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน หรือ Learning Together ที่นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้ผลงานกลุ่ม ในขณะทำงานนักเรียนช่วยกันคิดและช่วยกันตอบคำถาม พยายามทำให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมและทุกคนเข้าใจที่มาของคำตอบ ให้นักเรียนขอความช่วยเหลือจากเพื่อนก่อนที่จะถามครู และครูชมเชยหรือให้รางวัลกลุ่มตามผลงานของกลุ่มเป็นหลัก

ที่มา
http://krubanknadokmaischool.blogspot.com/p/seels-glasgow-model.html
http://www.lib.ubu.ac.th/techno/Down%20Load/Instruction%20Design%20Model.pdf
https://blog.eduzones.com/Chayapa/142220
http://www.budmgt.com/budman/bm01/learner.html

ขอจบการสรุปเพียงเท่านี้ค่ะ^^
  

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 5 ก.ย. 58

วันที่ 5 กันยายน 2558
          วันนี้ท่านอาจารย์สอนในเรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางการคิด Thinking Development จะสรุปดังนี้นะคะ^^

Thinking  Development 
  • Analyticl Thinking  การคิด
  • Systemic Thinking  การคิดแบบเป็นระบบ
  • Critical  Thinking   การคิดสังเคราะห์
  • Reflective Thinking  กระบวนการคิดไตร่ตรองทบทวน
  • Logical  Thinking  ความสามารถในการคิดหาเหตุผล
  • Analogical Thinking  การคิดเชิงตรรกะ
  • Practical  Thinking  คิดแบบลงมือปฏิบัติ
  • Deliberative Thinking  คิดแบบบูรณาการ
  • Creative Thinking  ความคิดสร้างสรรค์
  • Team  Thinking  การคิดแบบเป็นทีม
     การพัฒนาศักยภาพทางการคิดเป็นสิ่งสำคัญนการพัฒนานักเรียนทุกกลุ่มสาระวิชา โดยเฉพาะในยุคของ Digital Economy

World is changing very fast
  • โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการแข่งขัน
  • ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจึงต้องหาเทคนิคใหม่ๆอยู่เสมอ
  • ในอดีตเราอาจได้ยินคำว่า "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" Big beats Small
  • เวลาเปลี่ยนโลกเปลี่ยนไป ปัจจุบันเราควรตระหนักไว้ว่า Fast beats Slow
คุณต้องการอะไรจากการสอน

  • สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) เป็นผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานบริหารของแอปเปิล เป็นบุคคลผู้คิดค้นนวัตกรรม ซึ่งเปลี่ยนแปลงโลก จ็อบส์ แตกต่างจากคนอื่นตรงที่เขาเลือกมองสิ่งที่คนอื่นมองข้าม และจ็อบส์ยังเชื่อมั่นในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่จะเนรมิตสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งไม่เพียงช่วยพัฒนาชีวิต แต่ยังเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไปจากเดิม 
  • วอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์ (Walter Elias Disney) เป็นผู้สร้างผลงานการ์ตูนที่แพร่หลาย และประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลกคนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ และสร้างภาพยนตร์การ์ตูนสีเป็นคนแรก นอกจากนี้เขายังได้สร้างสวนสนุก ซึ่งทำรายได้มหาสาร
  • มาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก (อังกฤษ: Mark Elliot Zuckerberg) เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก เขาร่วมก่อตั้งเฟสบุ๊กร่วมกับเพื่อนอีก 4 คน ขณะกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปัจจุบันเฟซบุ๊กก็ได้ทำรายได้มากมายให้กับผู้สร้าง
  • Naver คือ บริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น LINE เป็นบริษัทผลิตเกมสัญชาติเกาหลี มีสาขาที่ประเทศญี่ปุ่น ไอเดีย LINE มาจากเหตุการณ์วิกฤต จึงเป็นแอปฯ ที่แม้จะมีความน่ารักกุ๊กกิ๊ก แต่ต้นกำเนิดของ LINE ดราม่าไม่น้อย เพราะมาจากตอนที่ญี่ปุ่นเกิดสึนามิ ระบบการสื่อสารประเภท Voice ล่มจนติดต่อกันไม่ได้ ทีมงาน 100 ชีวิตจึงระดมกำลังสร้างช่องทางสื่อสารผ่าน Data ซึ่งตอนนั้นยังใช้ได้อยู่ เพื่อติดต่อและให้กำลังใจกัน ในที่สุด LINE ก็ถือกำเนิดขึ้น ถึงแม้ว่า  LINE จะเกิดขึ้นจะความไม่ตั้งใจแต่ปัจจุบัน  LINE ก็เป็นแอปพิเคชั้น ที่สร้างรายได้มหาสาร
     จากบุคคลที่กล่าวมาข้างต้นพวกเขาได้ขายจินตนาการ ทำให้คนในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบาย มาซื้อความสุขจากพวกเขา ทำให้พวกเขามีรายได้อย่างมหาสาร


ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จสู่กระบวนการเรียนรู้
  • Interest        ความสนใจของนักเรียน
  • Intention      ความตั้งใจของนักเรียนและครู
  • Teaching      วิธีสอนของครู
  • Aptitude       ความสามารถของนักเรียน
  • Experience   ประสบการณ์สอนของครู
  • Responsibility     ความรับผิดชอบของครู
  • Difficulty      ความยากง่ายของวิชา

การเข้าถึงผู้เรียน
  • ผู้สอนต้องเข้าถึงผู้เรียน
  • ผู้สอนต้องมีวิทยาการสอน
  • ต้องเข้าใจลักษณะเด็กใหม่
เข้าถึงธรรมชาติของผู้เรียน
การจะเข้าถึงผู้เรียนเราต้องรู้ก่อนว่าผู้เรียนต้องการอะไรMaslowเรียงลำดับความต้องการของมนุษย์ดังนี้
  1. ความต้องการทางด้านร่างกาย
  2. ต้องการความมั่นคงปลอดภัย
  3. ต้องการความรักและเป็นที่ยอมรับ
  4. ต้องการได้รับการยกย่อง
  5. ต้องการเข้าใจและรักตนเอง
พัฒนา
คุณครูที่มีศักยภาพควรมีลักษณะบางอย่างหรือหลายประการ ดังนี้
  1. สอนเป็น นำเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
  2. ใช้และใฝ่หาเทคนิคเพื่อกระตุ้นผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
  3. มีความคิดสร้างสรรค์
  4. ประเมินตนเอง มีความรู้ลึกซึ้งมากแค่ไหนในวิชาที่สอน
To Teach VS To Learn
  • การสอนเป็น คือ การอสนที่ทำให้ผู้เรียนได้รับรู้
  • การสอนให้เป็นต้องเข้าใจหลักการเรียนรู้พื้นฐาน
  • Tip ผู้สอนควรทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียน
ตัวอย่างหลักการอสอนให้คิด
ท่านอาจารย์ได้ยกตังอย่างหลักกาลามสูตร 10 ประการ


ที่มารูปภาพ : http://pantip.com/topic/31657504


วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 29 ส.ค. 58

วันที่ 29 สิงหาคม 2558
วันนี้ท่านอาจารย์ให้นำเสนอ Model และ แผนการสอนที่ท่านอาจารย์ได้มอบให้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2558 ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้กลุ่มที่ 4 คือ KEMP Model + แผนการสอน วันนี้ท่านอาจารย์ให้นำเสนอ 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. Dick & Carey Model
  2. Gerlach & Ely Model
  3. KEMP Model
  4. Klausmeier & Ripple Model
มาเริ่มที่ Model แรกกันเลยค่ะ^^





Dick & Carey Model
ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ 3 องค์ประกอบคือ
  1. กำหนดผล (จุดมุ่งหมาย) ของการสอน
  2. การพัฒนาการสอน 
  3. การประเมินการเรียนการสอน
     จากองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ประการนี้ ดิคและคาเรย์ ได้แบ่งกิจกรรมการจัดระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นดั้งนี้
  1. การกำหนดความมุ่งหมายการสอน  (identify instructional goals)  เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอน ซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ความจำเป็น  (need analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน 
  2. การวิเคราะห์การสอน (conduct instructional analysis) ขั้นตอนนี้อาจทำก่อนหรือหลังขั้นที่ 3  หรืออาจจะทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้    การวิเคราะห์การสอนเป็นการวิเคราะห์ภารกิจหรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน ในเรื่องนี้ กาเย่ (Gagne. 1985) ได้เสนอ แนะว่า  การวิเคราะห์การสอนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ   information-processing   analysis ตามแนวคิดของกาเย่นั้นเอง   ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (task classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน
  3. ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (identify entry behaviors and characteristics) เป็นการระบุพฤติกรรมหรือทักษะเฉพาะที่ผู้เรียนต้องมีก่อนการเรียน และลักษณะของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญต่อการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
  4. เขียนจุดมุ่งหมายการเรียน (write performance objectives) ซึ่งเป็นการเขียนวัตถุประสงค์แสดงความเจาะจงว่า ต้องการให้ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้เมื่อเรียนจบบทเรียน โดยระบุพฤติกรรมเมื่อผู้เรียนแสดงสถานการณ์ที่เกิดพฤติกรรมนั้น
  5. สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (develop criterion referenced test) เป็นการสร้างแบบทดสอบที่อิงวัตถุประสงค์  สามารถวัดความสามารถของผู้เรียนตามที่เขียนไว้ในวัตถุประสงค์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือข้อกระทงจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในวัตถุประสงค์การประเมินผลการเรียนรู้ยึดเกณฑ์เป็นหลัก
  6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (develop instructional strategy) เป็นการวางแนวทางที่จะใช้ในการสอน เพื่อให้การสอนดำเนินไปสู่เป้าหมาย ยุทธวิธีการสอนประกอบด้วย กิจกรรมการสอน การเสนอบทเรียน การฝึกฝน  การให้ข้อมูลย้อนกลับ  การวัดผลกิจกรรมต่างๆ  ภายหลังบทเรียน  ในการจัดให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันภายในชั้นเรียน  จำเป็นต้องวางยุทธวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการวิจัยการเรียนรู้  ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน  ความรู้ในเรื่องเนื้อหาและตัวผู้เรียน
  7. เลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน (develop and select instructional materials) เป็นการนำยุทธวิธีการสอนที่วางไว้มาคัดเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึงการสร้างคู่มือผู้เรียน คู่มือผู้สอน สื่อการเรียนการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ รวมถึงแบบทดสอบ
  8. ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน (design and conduct formative) เป็นการสร้างเครื่องมือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
  9. แก้ไขปรับปรุงการสอน (revise instruction) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินระหว่างการเรียนแจ้งให้ผู้เรียนทราบ เพื่อทำการทบทวนหรือแก้ไขข้อบกพร่อง   ขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน นับตั้งแต่ขั้นที่ 2 จนถึงขั้นที่ 8 
  10. ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน (design and conduct summative evaluation) เป็นการใช้แบบทดสอบเก็บข้อมูลมาประเมินคุณค่าของการสอน และการเรียนรู้



Gerlach & Ely Model



       เกอร์ลาซ และ อีลี (Gerlach and Ely, 1980) 
ได้เสนอรูปแบบการสอนซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 10 ประการคือ
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) คือการวัตถุประสงค์ว่าผู้เรียนควรจะสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง
  2. กำหนดเนื้อหา (Specification of Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
  3. พิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน (Assessment of Entering Behaviors) การทราบถึงความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะทำให้ผู้สอนสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณาก่อนที่จะวางแผนการสอน
  4. เลือกยุทธศาสตร์และเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques)คือ วิธีการที่ครูใช้ในการให้ข้อมูล ในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ และบทบาทของผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  5. จัดกลุ่มผู้เรียน (Oganization of Students into Groups) เป็นการจัดกลุ่มเรียน เช่น เรียนร่วมกันเป็น กลุ่มเล็ก หรือโดยการบรรยายเป็นกลุ่มใหญ่ หรือเป็นรายบุคคลระหว่างครูและกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น
  6. กำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) การเลือกยุทธวิธี เทคนิคต่าง ๆนั้นล้วนมีผลต่อการเลือกและกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสมทั้งสิ้น เช่น เนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ สถานที่เรียน รูปแบบการบริหาร ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
  7. กำหนดสถานที่เรียน (Allocate of Learning Space) จะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน
  8. การกำหนดแหล่งการเรียนรู้ (Allocation of Resources) เป็นการเลือกแหล่งการเรียน หรือสื่อการสอน ซึ่งสามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว โทรทัศน์ ของจริง สื่อบุคคล หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  9. ประเมินผล (Evaluation of Performance) เป็นการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลเป็นส่วนสุดท้ายในการวางแผนรูปแบบการสอน ที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก
  10. วิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (Analysis of Feedback) หลังจากที่ได้ประเมินผลการเรียนการสอนแล้วจะทำให้ทราบว่า การเรียนการสอนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด หากมีข้อบกพร่องก็สามารถวิเคราะห์ผล แล้วย้อนกลับมาเพื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ





KEMP Model


     เจอโรลด์ เคมป์ (Jerrold Kemp)  ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1990 ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง พิจารณาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนของเจอโรลด์เคมป์ จะดูเหมือนว่าค่อนข้างยุ่งยากกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ แต่ก็เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอก ดังนี้
     1. ระดับในสุด เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของบทเรียนและผู้เรียน
     2. ระดับถัดออกมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
     3. ระดับที่สาม เป็น การปรับปรุง แก้ไขบทเรียน
     4. ระดับนอกสุด เป็นการประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลระหว่างดำเนินการ และการประเมินผลสรุปรายละเอียดแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ มีดังนี้

1. ความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัด (Learner Needs,Goal, Priorities, Constraints) เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ เป้าหมาย และข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้เรียนและการใช้บทเรียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นแรกของการเริ่มต้นในกระบวนการออกแบบระบบการสอนหรือบทเรียน จึงจัดอยู่ในศูนย์กลางของระบบและเป็นพื้นฐานของขั้นตอนย่อย ๆ ทั้ง 9 ขั้นตอน 
2. คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้ระบบการสอนหรือบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการพิจารณาคุณสมบัติจำนวน 3 ด้าน ดังนี้
     2.1 คุณสมบัติทั่วๆ ไป (General Characteristics) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา
     2.2 ความสามารถเฉพาะทาง (Specify Entry Competencies)
     2.3 รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) เช่น การใช้สื่อ และกิจกรรม เป็นต้น
3. เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose) เป็นการพิจารณาเป้าหมายของงานที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจบบทเรียนแล้ว เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป
4. การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานหรือ ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้ หรือ สังเกตได้ การวิเคราะห์งานในขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนต่างๆ ดังนี้
     4.1 เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ
     4.2 ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
     4.3 แนวทางการออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน
5. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน โดยพิจารณาจากผลของการวิเคราะห์งานที่ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียนและการประเมินผลบทเรียน วัตถุประสงค์ในขั้นตอนนี้ จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย
6. กิจกรรมการสอน (Teaching Activities) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนสอนในกระบวนการเรียนการสอน โดยพิจารณาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนและความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้การเลือกวัสดุและสื่อการสอน ก็จะต้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการสอนด้วยเช่นกัน
7. แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากผู้เรียนและสถานการณ์การเรียนการสอนเป็นสำคัญ
8. สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ เช่น สถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากและตารางเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
9. การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการสร้างเครื่องมือวัดผลและดำเนินการวัดผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของบทเรียนหรือระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนต่อไป
10. การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting) เป็นการทดสอบผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม และพื้นฐานความรู้เพื่อแนะนำให้มีการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ก่อนศึกษาบทเรียนหรืหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนต่อไป
     รูปแบบการสอนของเจอโรลด์ เคมป์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบการสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ต่อ มาได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการสอนใหม่ เพื่อนำไปใช้ออกแบบบทเรียนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ในปีคศ.1994 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอกดังนี้
  1. ระดับในสุด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
  2. ระดับที่สอง ประกอบด้วย ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขบทเรียน (Revision) และขั้นตอนการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation)
  3. ระดับนอกสุด ประกอบด้วย สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) การบริหารโครงการ (Project Management) และการประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)




Klausmeier & Ripple Model




      คลอสเมียร์และริปเปิล ( Klausmeier & Ripple.1971:11) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
  1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
  2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
  3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
  4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  5. การดำเนินการสอน
  6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
  7. สัมฤทธิผลของนักเรียน
ที่มา : http://www.chontech.ac.th/~abhichat/data/isd/dick.pdf
          https://chinese-edu.wikispaces.com/
          http://54540111onnicha.blogspot.com/2012/04/kemp-modeldick-and-carey.html
          http://www.chontech.ac.th/~abhichat/data/isd/klausmeier.pdf


แล้วอาทิตย์หน้าจะมาสรุปใหม่นะคะ 
ขอบคุณค่ะ^^