วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา วันที่ 29 ส.ค. 58

วันที่ 29 สิงหาคม 2558
วันนี้ท่านอาจารย์ให้นำเสนอ Model และ แผนการสอนที่ท่านอาจารย์ได้มอบให้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2558 ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้กลุ่มที่ 4 คือ KEMP Model + แผนการสอน วันนี้ท่านอาจารย์ให้นำเสนอ 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. Dick & Carey Model
  2. Gerlach & Ely Model
  3. KEMP Model
  4. Klausmeier & Ripple Model
มาเริ่มที่ Model แรกกันเลยค่ะ^^





Dick & Carey Model
ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ 3 องค์ประกอบคือ
  1. กำหนดผล (จุดมุ่งหมาย) ของการสอน
  2. การพัฒนาการสอน 
  3. การประเมินการเรียนการสอน
     จากองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ประการนี้ ดิคและคาเรย์ ได้แบ่งกิจกรรมการจัดระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นดั้งนี้
  1. การกำหนดความมุ่งหมายการสอน  (identify instructional goals)  เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอน ซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ความจำเป็น  (need analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน 
  2. การวิเคราะห์การสอน (conduct instructional analysis) ขั้นตอนนี้อาจทำก่อนหรือหลังขั้นที่ 3  หรืออาจจะทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้    การวิเคราะห์การสอนเป็นการวิเคราะห์ภารกิจหรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน ในเรื่องนี้ กาเย่ (Gagne. 1985) ได้เสนอ แนะว่า  การวิเคราะห์การสอนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ   information-processing   analysis ตามแนวคิดของกาเย่นั้นเอง   ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (task classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน
  3. ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (identify entry behaviors and characteristics) เป็นการระบุพฤติกรรมหรือทักษะเฉพาะที่ผู้เรียนต้องมีก่อนการเรียน และลักษณะของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญต่อการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
  4. เขียนจุดมุ่งหมายการเรียน (write performance objectives) ซึ่งเป็นการเขียนวัตถุประสงค์แสดงความเจาะจงว่า ต้องการให้ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้เมื่อเรียนจบบทเรียน โดยระบุพฤติกรรมเมื่อผู้เรียนแสดงสถานการณ์ที่เกิดพฤติกรรมนั้น
  5. สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (develop criterion referenced test) เป็นการสร้างแบบทดสอบที่อิงวัตถุประสงค์  สามารถวัดความสามารถของผู้เรียนตามที่เขียนไว้ในวัตถุประสงค์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือข้อกระทงจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในวัตถุประสงค์การประเมินผลการเรียนรู้ยึดเกณฑ์เป็นหลัก
  6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (develop instructional strategy) เป็นการวางแนวทางที่จะใช้ในการสอน เพื่อให้การสอนดำเนินไปสู่เป้าหมาย ยุทธวิธีการสอนประกอบด้วย กิจกรรมการสอน การเสนอบทเรียน การฝึกฝน  การให้ข้อมูลย้อนกลับ  การวัดผลกิจกรรมต่างๆ  ภายหลังบทเรียน  ในการจัดให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันภายในชั้นเรียน  จำเป็นต้องวางยุทธวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการวิจัยการเรียนรู้  ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน  ความรู้ในเรื่องเนื้อหาและตัวผู้เรียน
  7. เลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน (develop and select instructional materials) เป็นการนำยุทธวิธีการสอนที่วางไว้มาคัดเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึงการสร้างคู่มือผู้เรียน คู่มือผู้สอน สื่อการเรียนการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ รวมถึงแบบทดสอบ
  8. ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน (design and conduct formative) เป็นการสร้างเครื่องมือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
  9. แก้ไขปรับปรุงการสอน (revise instruction) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินระหว่างการเรียนแจ้งให้ผู้เรียนทราบ เพื่อทำการทบทวนหรือแก้ไขข้อบกพร่อง   ขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน นับตั้งแต่ขั้นที่ 2 จนถึงขั้นที่ 8 
  10. ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน (design and conduct summative evaluation) เป็นการใช้แบบทดสอบเก็บข้อมูลมาประเมินคุณค่าของการสอน และการเรียนรู้



Gerlach & Ely Model



       เกอร์ลาซ และ อีลี (Gerlach and Ely, 1980) 
ได้เสนอรูปแบบการสอนซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 10 ประการคือ
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) คือการวัตถุประสงค์ว่าผู้เรียนควรจะสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง
  2. กำหนดเนื้อหา (Specification of Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
  3. พิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน (Assessment of Entering Behaviors) การทราบถึงความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะทำให้ผู้สอนสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณาก่อนที่จะวางแผนการสอน
  4. เลือกยุทธศาสตร์และเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques)คือ วิธีการที่ครูใช้ในการให้ข้อมูล ในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ และบทบาทของผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  5. จัดกลุ่มผู้เรียน (Oganization of Students into Groups) เป็นการจัดกลุ่มเรียน เช่น เรียนร่วมกันเป็น กลุ่มเล็ก หรือโดยการบรรยายเป็นกลุ่มใหญ่ หรือเป็นรายบุคคลระหว่างครูและกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น
  6. กำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) การเลือกยุทธวิธี เทคนิคต่าง ๆนั้นล้วนมีผลต่อการเลือกและกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสมทั้งสิ้น เช่น เนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ สถานที่เรียน รูปแบบการบริหาร ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
  7. กำหนดสถานที่เรียน (Allocate of Learning Space) จะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน
  8. การกำหนดแหล่งการเรียนรู้ (Allocation of Resources) เป็นการเลือกแหล่งการเรียน หรือสื่อการสอน ซึ่งสามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว โทรทัศน์ ของจริง สื่อบุคคล หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  9. ประเมินผล (Evaluation of Performance) เป็นการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลเป็นส่วนสุดท้ายในการวางแผนรูปแบบการสอน ที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก
  10. วิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (Analysis of Feedback) หลังจากที่ได้ประเมินผลการเรียนการสอนแล้วจะทำให้ทราบว่า การเรียนการสอนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด หากมีข้อบกพร่องก็สามารถวิเคราะห์ผล แล้วย้อนกลับมาเพื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ





KEMP Model


     เจอโรลด์ เคมป์ (Jerrold Kemp)  ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นในปี คศ. 1990 ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง พิจารณาจากองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างครบถ้วน สามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนได้เป็นอย่างดี แม้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนของเจอโรลด์เคมป์ จะดูเหมือนว่าค่อนข้างยุ่งยากกว่ารูปแบบการสอนอื่นๆ แต่ก็เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอก ดังนี้
     1. ระดับในสุด เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของบทเรียนและผู้เรียน
     2. ระดับถัดออกมา ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
     3. ระดับที่สาม เป็น การปรับปรุง แก้ไขบทเรียน
     4. ระดับนอกสุด เป็นการประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลระหว่างดำเนินการ และการประเมินผลสรุปรายละเอียดแต่ละขั้นตอนย่อย ๆ มีดังนี้

1. ความต้องการของผู้เรียน เป้าหมาย การเรียงลำดับ และข้อจำกัด (Learner Needs,Goal, Priorities, Constraints) เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ เป้าหมาย และข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้เรียนและการใช้บทเรียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นแรกของการเริ่มต้นในกระบวนการออกแบบระบบการสอนหรือบทเรียน จึงจัดอยู่ในศูนย์กลางของระบบและเป็นพื้นฐานของขั้นตอนย่อย ๆ ทั้ง 9 ขั้นตอน 
2. คุณสมบัติของผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียนที่จะเป็นผู้ใช้ระบบการสอนหรือบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการพิจารณาคุณสมบัติจำนวน 3 ด้าน ดังนี้
     2.1 คุณสมบัติทั่วๆ ไป (General Characteristics) เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา
     2.2 ความสามารถเฉพาะทาง (Specify Entry Competencies)
     2.3 รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) เช่น การใช้สื่อ และกิจกรรม เป็นต้น
3. เป้าหมายของงานที่ได้รับ (Job Outcomes Purpose) เป็นการพิจารณาเป้าหมายของงานที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจบบทเรียนแล้ว เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป
4. การวิเคราะห์งานหรือภารกิจรายวิชา (Subject Task Analysis) เป็นการวิเคราะห์งานหรือ ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของการกระทำที่วัดได้ หรือ สังเกตได้ การวิเคราะห์งานในขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนต่างๆ ดังนี้
     4.1 เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ
     4.2 ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
     4.3 แนวทางการออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน
5. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน โดยพิจารณาจากผลของการวิเคราะห์งานที่ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบทเรียนและการประเมินผลบทเรียน วัตถุประสงค์ในขั้นตอนนี้ จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย
6. กิจกรรมการสอน (Teaching Activities) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนสอนในกระบวนการเรียนการสอน โดยพิจารณาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนและความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้การเลือกวัสดุและสื่อการสอน ก็จะต้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมการสอนด้วยเช่นกัน
7. แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources) เป็นการพิจารณาเป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งทรัพยากรต่างๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากผู้เรียนและสถานการณ์การเรียนการสอนเป็นสำคัญ
8. สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ เช่น สถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากและตารางเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
9. การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการสร้างเครื่องมือวัดผลและดำเนินการวัดผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของบทเรียนหรือระบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนต่อไป
10. การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretesting) เป็นการทดสอบผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม และพื้นฐานความรู้เพื่อแนะนำให้มีการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ก่อนศึกษาบทเรียนหรืหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนต่อไป
     รูปแบบการสอนของเจอโรลด์ เคมป์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบการสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ต่อ มาได้มีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการสอนใหม่ เพื่อนำไปใช้ออกแบบบทเรียนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ในปีคศ.1994 ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น10 ขั้นตอนย่อย โดยพิจารณาจากวงรีส่วนในออกมาสู่ส่วนนอกดังนี้
  1. ระดับในสุด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนย่อย
  2. ระดับที่สอง ประกอบด้วย ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขบทเรียน (Revision) และขั้นตอนการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation)
  3. ระดับนอกสุด ประกอบด้วย สิ่งสนับสนุนบริการ (Support Services) การบริหารโครงการ (Project Management) และการประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)




Klausmeier & Ripple Model




      คลอสเมียร์และริปเปิล ( Klausmeier & Ripple.1971:11) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
  1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
  2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน
  3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
  4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  5. การดำเนินการสอน
  6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
  7. สัมฤทธิผลของนักเรียน
ที่มา : http://www.chontech.ac.th/~abhichat/data/isd/dick.pdf
          https://chinese-edu.wikispaces.com/
          http://54540111onnicha.blogspot.com/2012/04/kemp-modeldick-and-carey.html
          http://www.chontech.ac.th/~abhichat/data/isd/klausmeier.pdf


แล้วอาทิตย์หน้าจะมาสรุปใหม่นะคะ 
ขอบคุณค่ะ^^



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น